แชร์

ทีมงานสำคัญ ทีมครอบครัวก็ยิ่งสำคัญ

อัพเดทล่าสุด: 6 ธ.ค. 2024
65 ผู้เข้าชม

หาก ทีม คือ หน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุดในโลกการทำงานที่เราอยากเห็นความแข็งแกร่ง
ครอบครัว ก็เป็นหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุดในชีวิต ที่พวกเราทุกคนอยากให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย เพราะครอบครัวเป็นรากฐานสำคัญสำหรับทุกด้านในชีวิต


เราสามารถนำแนวคิดเรื่อง Team Psychological Safety หรือความปลอดภัยทางจิตวิทยาในทีม
ไปปรับใช้ได้อย่างดียิ่งในครอบครัวเช่นกัน โดยสิ่งที่ครอบครัวสามารถช่วยกันทำได้ มีดังนี้:


1. Frame a Problem as a Learning Challenge (มองปัญหาเป็นความท้าทายในการเรียนรู้)

แนวทาง: เมื่อลูกหรือสมาชิกในครอบครัวเผชิญกับปัญหา ให้ชวนคุยถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเหตุการณ์นั้น แทนที่จะตำหนิหรือจมอยู่กับตัวปัญหา

เช่น ครั้งนี้อาจไม่ได้ผลดีนัก แต่มีอะไรบ้างที่เราจะทำได้ดีขึ้นในครั้งหน้า?



2. Acknowledge Your Own Fallibility (ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง)

แนวทาง: เป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นว่าการยอมรับความผิดพลาดไม่ใช่เรื่องเสียหาย

เช่น การบอกว่า แม่ผิดเองที่รีบตัดสินใจไปโดยไม่ได้ถามความเห็นของลูกก่อน ขอโทษนะ



3. Model Curiosity (เป็นต้นแบบในการแสดงความอยากรู้อยากเห็น)

แนวทาง: แสดงความสนใจในความคิดหรือความรู้สึกของสมาชิก

เช่น ถามลูกว่า วันนี้ที่โรงเรียนมีอะไรสนุกไหม? หรือ หนูคิดยังไงกับเรื่องนี้? เพื่อกระตุ้นให้เขารู้สึกว่าความคิดเห็นของเขามีค่า



4. Promote Open Dialogue (ส่งเสริมการพูดคุยอย่างเปิดเผย)

แนวทาง: จัดเวลาพูดคุยสบาย ๆ เช่น ระหว่างมื้ออาหาร กำหนดให้สมาชิกทุกคนมีโอกาสเล่าเรื่องราวประจำวันโดยไม่ถูกขัดจังหวะ

สมาชิกตั้งคำถามหรือพูดคุยในเชิงสร้างสรรค์โดยไม่ตัดสินกันและกันในช่วงเวลาที่กำหนด



5. Encourage Risk-Taking (สนับสนุนการลองสิ่งใหม่)

แนวทาง: สนับสนุนหรือส่งเสริมให้ลูกลองทำสิ่งที่เขาไม่มั่นใจ

เช่น การช่วยทำอาหาร หรือพูดหน้าชั้นเรียน โดยเน้นว่า ผิดพลาดก็ไม่เป็นไร แค่ลองทำให้ดีที่สุดก็เก่งแล้ว



6. Provide Constructive Feedback (ให้ฟีดแบ็กหรือข้อมูลป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์)

แนวทาง: หากลูกทำผิด แทนที่จะดุหรือลงโทษทันที ให้ชี้ให้เขาเห็นสิ่งที่เขาทำ ผลกระทบที่เกิดขึ้น และบอกหรือชวนเขาคิดถึงสิ่งที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้

เช่น แม่ชื่นชมที่ลูกอยากเป็นนักกีฬาโรงเรียน แม่สังเกตเห็นว่าบางวันที่มีการบ้านมากลูกก็งดไปซ้อมหลายครั้ง ซึ่งมันจะทำให้การพัฒนาฝีมือไม่ต่อเนื่อง

ถ้าเราจัดเวลาในการทำการบ้านให้เสร็จเร็วขึ้นและมีเวลาไปซ้อมมากขึ้น ฝีมือของลูกน่าจะพัฒนาก้าวกระโดดจนสามารถเป็นตัวแทนโรงเรียนได้

ลูกคิดว่าเราจะจัดการเรื่องเวลากันอย่างไรดี



7. Build a Culture of Respect (สร้างวัฒนธรรมแห่งการเคารพซึ่งกันและกัน)

แนวทาง: ใช้คำ ขอบคุณ หรือ ขอโทษ แม้ในเรื่องเล็ก ๆ เพื่อสะท้อนความใส่ใจ

หลีกเลี่ยงการพูดตำหนิหรือคำพูดทางลบที่ทำให้เสียกำลังใจ

รวมถึงให้พื้นที่ส่วนตัวและเคารพการตัดสินใจในเรื่องส่วนตัวของสมาชิกในครอบครัว



การสร้าง Psychological Safety ในครอบครัวควรเริ่มต้นจากการเปิดใจ ยอมรับซึ่งกันและกัน และให้ความสำคัญกับการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

เมื่อครอบครัวเป็นพื้นที่ปลอดภัย ทุกคนจะกล้าแสดงตัวตนและเรียนรู้จากกันและกัน

ซึ่งนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่แข็งแรงและยั่งยืนกว่าเดิม และเมื่อความสัมพันธ์ในครอบครัวแข็งแรง

การใช้ชีวิตนอกบ้านให้มีประสิทธิภาพก็เป็นไปได้ง่ายขึ้นเช่นกัน



ขอให้มีความสุขและสนุกกับการปั้น High-performing Team และ Happy Family ไปด้วยกันนะคะ



  Author

โค้ชติ๊ก นิธิพร ไตรทิพเทวินทร์

Certified Master Facilitator Team Psychological Safety
WIAL Professional Action Learning Coach

  Artwork: Jutha.J


บทความที่เกี่ยวข้อง
4 วิธีดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
แม้สุขภาพจิตของพนักงานจะเป็นปัจจัยที่สำคัญแต่ยังมีหลายองค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเพียงพอ ปัญหาความเครียด การหมดไฟในการทำงาน และภาวะซึมเศร้า กำลังกลายเป็นความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ การให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตไม่เพียงช่วยให้พนักงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรโดยรวม ดังนั้น องค์กรควรพิจารณาแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
31 ม.ค. 2025
ดูแลสุขภาพจิตของพนักงาน สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
การดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของพนักงานไม่ใช่เพียงแค่การดูแล "คน" แต่เป็นการลงทุนที่ช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืนในทุกด้าน เมื่อพนักงานมีสุขภาพจิตและกายที่ดี องค์กรจะได้ทีมงานที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร
31 ม.ค. 2025
ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ให้ความต่างสร้างการเติบโต
เมื่อพูดถึงความขัดแย้ง คนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะหลีกเลี่ยง เพราะคิดว่าจะนำไปสู่ความไม่พอใจ แตกแยก หรือสูญเสีย แต่ในความเป็นจริง ความขัดแย้งไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป หากเราสามารถจัดการและใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างเหมาะสม ความขัดแย้งอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นที่นำไปสู่การพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทีมได้
31 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy