แชร์

การใช้ Empathy เพื่อสร้าง Trust ในทีม: แรงบันดาลใจจาก โอปอล สุชาตา

อัพเดทล่าสุด: 25 พ.ย. 2024
49 ผู้เข้าชม

เสียงปรบมือดังกึกก้องในงานประกวด Miss Universe 2024 กับคำตอบของโอปอล สุชาตา ช่วงศรี Miss Universe Thailand 2024 ตอบคำถามที่ว่า คุณสมบัติใดที่ต้องมีเพื่อการเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง ซึ่งโอปอลได้ตอบคำถามนี้อย่างชัดเจนและทรงพลังว่า #Empathy, because, no matter how good you are, no matter what kind of education you have, in the end, you need empathy to care about your people and their well-being. And not only leaders - I believe that everyone in this world needs to have empathy for one another. Thats how we can unite.

หรือ #ความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น เพราะไม่ว่าคุณจะเก่งแค่ไหน ไม่ว่าคุณจะมีการศึกษาแบบไหน สุดท้ายแล้วคุณต้องมีความเข้าอกเข้าใจเพื่อดูแลผู้คนและความเป็นอยู่ของพวกเขา และไม่ใช่แค่ผู้นำเท่านั้น ฉันเชื่อว่าทุกคนในโลกนี้ต้องมีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน นั่นคือวิธีที่เราสามารถสามัคคีกันได้

ในบริบทของการสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ การมี Empathy นับเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญที่จะสร้าง Trust & Respect ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อการมีความปลอดภัยภัยทางจิตวิทยาในทีม (Team Psychological Safety)

#Empathy สามารถส่งเสริมให้เกิด Trust ได้ในหลายมิติ อาทิ:

สร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้ง
การรับฟังและเข้าใจมุมมองของเพื่อนร่วมทีมอย่างแท้จริง ทำให้สมาชิกทีมรู้สึกว่าเสียงของพวกเขามีคุณค่า ความเข้าใจนี้ช่วยลดความขัดแย้ง และส่งเสริมความร่วมมือที่ดียิ่งขึ้น

กระตุ้นการแสดงความจริงใจ
ผู้นำที่แสดง Empathy ผ่านการแสดงออกที่จริงใจ เช่น การสนับสนุนในช่วงเวลาที่ยากลำบาก หรือการให้กำลังใจในความพยายามที่อาจยังไม่ประสบผลสำเร็จ ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ

ลดความกลัวในการแสดงความคิดเห็น
เมื่อทีมรู้ว่าผู้นำและเพื่อนร่วมทีมมี Empathy ต่อกัน พวกเขาจะรู้สึกปลอดภัยในการแบ่งปันความคิดเห็นหรือไอเดียใหม่ ๆ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของนวัตกรรมและการพัฒนา

วิธีฝึก Empathy ในทีม

ฝึกการฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ (Empathic Listening):
ให้ความสำคัญกับการฟัง ไม่ใช่แค่การได้ยิน แต่เป็นการฟังให้เข้าใจเนื้อหาอย่างตั้งใจ สังเกตอากัปกิริยาและอารมณ์ของผู้เล่าเพื่อรับรู้ถึงความรู้สึกและความต้องการที่อยู่เบื้องหลังคำพูด การฝึกฟังนี้อาจจัดเป็นกิจกรรมกลุ่มสัปดาห์และครั้ง ครั้งละ 15-20 นาที โดยให้จับคู่ผลัดกันเล่าเรื่อง เพื่อให้สมาชิกได้มีโอกาสใช้เวลากับการฝึกฟังอย่างแท้จริง

ฝึกตั้งคำถามจากการฟังอย่างลึกซึ้ง:
การฝึกตั้งคำถามนี้อาจจะเริ่มต้นง่าย ๆ จากการถามคำถามปลายเปิดต่อเนื่องจากบทสนทนาที่กำลังรับฟังอยู่ ผู้ถามสามารถใช้คำตอบก่อนหน้าของผู้เล่าเป็นพื้นฐานของการถามคำถามต่อยอด โดยขยายหรือเจาะลึกไปที่ความรู้สึก มุมมอง หรือทัศนคติของผู้เล่าเพิ่มเติม การตั้งคำถามต่อยอดจะช่วยทำให้ผู้เล่ารู้ว่าเรากำลังรับฟังเขาอยู่ และสามารถนำไปสู่บทสนทนาที่ลึกซึ้งและเพิ่มความใกล้ชิดในทีมได้ด้วย

ฝึกสะท้อนความรู้สึก (Reflective Question/Answer):
ใช้คำพูดหรือการกระทำเพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณเข้าใจสิ่งที่เพื่อนร่วมทีมกำลังเผชิญ โดยผ่านการใช้คำถามหรือการตอบรับที่สอดคล้องไปกับเรื่องของผู้เล่า บางครั้งเราสามารถทวนคำพูดของผู้เล่า เช่น

ได้ยินคุณบอกว่า มันทำให้คุณรู้สึกอย่างไร?

คุณคงรู้สึก... มากเลยใช่ไหม?

ฉันเข้าใจความรู้สึกนี้ดีเลย

การสะท้อนความรู้สึกนี้ นอกจากจะทำให้ผู้เล่าได้ตระหนักถึงอารมณ์/ความรู้สึกของตัวเองแล้ว ยังทำให้ผู้เล่ารู้สึกว่าผู้ฟังเข้าใจเขาเป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้ความสัมพันธ์มีความแนบแน่นมากขึ้น

การนำ Empathy มาใช้ในทีมไม่เพียงช่วยสร้าง Trust แต่ยังเป็นรากฐานของการสร้างวัฒนธรรมทีมที่ยั่งยืน เพราะสมาชิกในทีมทุกคนรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จร่วมกัน

ขอให้มีความสุขและสนุกกับการปั้น High-performing Team ไปด้วยกันนะคะ ️

---
  Author

โค้ชติ๊ก นิธิพร ไตรทิพเทวินทร์

Certified Master Facilitator Team Psychological Safety
WIAL Professional Action Learning Coach

  Artwork: Jutha.J


บทความที่เกี่ยวข้อง
4 วิธีดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
แม้สุขภาพจิตของพนักงานจะเป็นปัจจัยที่สำคัญแต่ยังมีหลายองค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเพียงพอ ปัญหาความเครียด การหมดไฟในการทำงาน และภาวะซึมเศร้า กำลังกลายเป็นความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ การให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตไม่เพียงช่วยให้พนักงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรโดยรวม ดังนั้น องค์กรควรพิจารณาแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
31 ม.ค. 2025
ดูแลสุขภาพจิตของพนักงาน สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
การดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของพนักงานไม่ใช่เพียงแค่การดูแล "คน" แต่เป็นการลงทุนที่ช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืนในทุกด้าน เมื่อพนักงานมีสุขภาพจิตและกายที่ดี องค์กรจะได้ทีมงานที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร
31 ม.ค. 2025
ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ให้ความต่างสร้างการเติบโต
เมื่อพูดถึงความขัดแย้ง คนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะหลีกเลี่ยง เพราะคิดว่าจะนำไปสู่ความไม่พอใจ แตกแยก หรือสูญเสีย แต่ในความเป็นจริง ความขัดแย้งไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป หากเราสามารถจัดการและใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างเหมาะสม ความขัดแย้งอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นที่นำไปสู่การพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทีมได้
31 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy