แชร์

#การแสดงออกของผู้นำกับTeamPsychologicalSafety

อัพเดทล่าสุด: 10 มิ.ย. 2024
107 ผู้เข้าชม

#การแสดงออกของผู้นำกับTeamPsychologicalSafety

คุ้น ๆ กับสถานการณ์แบบนี้บ้างไหมคะ
งานไม่ค่อยเดิน ถามอะไรเจ้าของเรื่องก็ตอบอึกอัก ๆ

ได้รับรายงานว่าทุกอย่างเป็นไปด้วยดี แต่พอรู้อีกทีก็มีปัญหาใหญ่เกิดขึ้นเสียแล้ว
พอเกิดเรื่อง ก็มีคนบอกว่าตอนที่กำลังจะอนุมัติแผนก็นึกถึงความเสี่ยงนี้อยู่เหมือนกัน แต่ไม่ได้ทักเพราะไม่กล้าขัดทุกคน

ในห้องประชุมนั่งกันเงียบ แต่พอออกนอกห้องประชุมออกความเห็นกันใหญ่เลย
ฯลฯ

ก่อนจะหัวเสียหรือจัดการอะไรต่อไป คำถามแรกที่ผู้นำอาจต้องฉุกคิดก็คือ
#หรือพวกเขาไม่รู้สึกปลอดภัยพอที่จะพูดในสิ่งที่คิดออกมา? และ #ในฐานะผู้นำฉันควรทำอย่างไร?

Prof. Amy Edmondson ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางจิตวิทยาในทีม (Team Psychological Safety) เคยกล่าวไว้ในการให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งว่า #การแสดงออกของผู้นำส่งผลอย่างยิ่งต่อความรู้สึกปลอดภัยของสมาชิกในทีม ดังนั้น แทนที่จะกล่าวโทษหรือตำหนิสมาชิกที่ไม่พูด ผู้นำกลับควรเป็นผู้กล่าวคำขอโทษที่ตนทำให้ทีมไม่รู้สึกปลอดภัยเพียงพอที่จะพูดหรือทำในสิ่งที่คิดซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์กับทีมได้

การแสดงออกของผู้นำเป็นการสื่อสารแบบหนึ่ง ซึ่งประสิทธิผลของการสื่อสารขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ คำพูด (มีผล 7%) น้ำเสียง (มีผล 38%) และภาษากาย (มีผล 55%) ทุกการกระทำของผู้นำล้วนถูกจับตามอง ประเมิน และถอดรหัสจากสมาชิกในทีมตลอดเวลา หากในองค์ประกอบทั้งสามส่วนมีสิ่งใดไม่สมบูรณ์หรือขัดแย้งกันก็จะทำให้ผู้ตามเกิดความลังเลสงสัยในความรู้สึกนึกคิดของผู้นำได้เสมอ

เพื่อส่งเสริมความรู้สึกว่าทีมเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคนในทีม ผู้นำอาจเริ่มต้นทำสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
1. เปิดโอกาสให้ทีมเข้าพบได้ง่ายและด้วยท่าทีที่ผ่อนคลาย/เป็นมิตร
2. ให้ความใส่ใจในเรื่องอื่น ๆ ของสมาชิกในทีมที่นอกเหนือจากเรื่องงานและผลงาน
3. กล้าที่จะเล่าถึงความผิดพลาดหรือความอ่อนไหวของตนเอง
4. เมื่อสมาชิกในทีมทำผิด มองความผิดพลาดเป็นโอกาสในการเรียนรู้ของทีม
5. ทำเหมือนกับที่พูด ไม่ว่าจะเป็นการพูดผ่านการเล่า การสั่งหรือบอก หรือการสอน
6. ให้ความยุติธรรมกับสมาชิกทุกคน
7. สื่อสารความคาดหวังให้ชัดเจน ตรงไปตรงมา
8. รักษาและเชิญชวนให้ทุกคนในทีมช่วยกันคงไว้ซึ่งแนวปฏิบัติในการทำงานที่ได้ตกลงกัน

เมื่อผู้นำสามารถแสดงให้เห็นชัดเจนถึงความพยายามในการจะสร้างให้ทีมเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการทำงานร่วมกันจนสมาชิกรับรู้และเชื่อเช่นนั้น การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานหรือการยกระดับผลงานก็จะเป็นเรื่องที่ไม่ไกลเกินเอื้อมอย่างแน่นอน

Author


โค้ชติ๊ก นิธิพร ไตรทิพเทวินทร์
Certified Master Facilitator Team Psychological Safety
Professional Action Learning Coach

#theartofchange
#teampsychologicalsafety
#highperformingteam See less


บทความที่เกี่ยวข้อง
4 วิธีดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
แม้สุขภาพจิตของพนักงานจะเป็นปัจจัยที่สำคัญแต่ยังมีหลายองค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเพียงพอ ปัญหาความเครียด การหมดไฟในการทำงาน และภาวะซึมเศร้า กำลังกลายเป็นความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ การให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตไม่เพียงช่วยให้พนักงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรโดยรวม ดังนั้น องค์กรควรพิจารณาแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
31 ม.ค. 2025
ดูแลสุขภาพจิตของพนักงาน สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
การดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของพนักงานไม่ใช่เพียงแค่การดูแล "คน" แต่เป็นการลงทุนที่ช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืนในทุกด้าน เมื่อพนักงานมีสุขภาพจิตและกายที่ดี องค์กรจะได้ทีมงานที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร
31 ม.ค. 2025
ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ให้ความต่างสร้างการเติบโต
เมื่อพูดถึงความขัดแย้ง คนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะหลีกเลี่ยง เพราะคิดว่าจะนำไปสู่ความไม่พอใจ แตกแยก หรือสูญเสีย แต่ในความเป็นจริง ความขัดแย้งไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป หากเราสามารถจัดการและใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างเหมาะสม ความขัดแย้งอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นที่นำไปสู่การพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทีมได้
31 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy