แชร์

กับดักทางความคิด ไม่ให้อภัยตัวเอง

อัพเดทล่าสุด: 8 ม.ค. 2025
63 ผู้เข้าชม

หนูยังให้อภัยตัวเองไม่ได้เลย...

จากประสบการณ์ที่ได้พูดคุยและให้คำปรึกษาในปีที่ผ่านมา "หนูยังให้อภัยตัวเองไม่ได้เลย..."

หนึ่งในบทสนทนาที่สะท้อนถึงปัญหาที่หลายคนเผชิญและไม่สามารถก้าวข้ามได้

คือ "การไม่ให้อภัยตัวเอง" ซึ่งกลายเป็นกับดักทางความคิดที่ขัดขวางเราไม่ให้เดินหน้าสู่เป้าหมายอย่างเต็มศักยภาพ

 

การไม่ให้อภัยตัวเองมักเริ่มต้นจาก ความรู้สึกผิด ที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจ

เราอาจย้อนมองอดีตด้วยคำว่า "ไม่น่าเลย" หรือ "ฉันควรทำให้ดีกว่านี้"

และตีความว่าความผิดพลาดเหล่านั้นสะท้อนตัวตนหรือคุณค่าของเราโดยตรง

 

มันไม่ใช่แค่ความรู้สึกผิดชั่วคราว แต่เป็นการยึดติดกับความผิดพลาดในอดีตจนกลายเป็นบ่วงที่ถ่วงชีวิตเราไว้

เราตำหนิตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่า สะสมความรู้สึกผิด และปฏิเสธที่จะปล่อยวาง จนสิ่งเหล่านี้กัดกร่อนพลังใจและลดทอนความมั่นใจลงไปเรื่อย ๆ

 

ในชีวิตของคนที่มุ่งมั่นกับการทำงานหรือการเดินตามเป้าหมาย ย่อมต้องเผชิญกับความล้มเหลว ความผิดพลาด หรือการตัดสินใจที่ทำให้เสียใจในภายหลัง

แต่คำถามสำคัญคือ ทำไมบางคนก้าวข้ามสิ่งเหล่านี้ได้ ในขณะที่บางคนยังจมอยู่กับอดีต?

 

คำตอบหนึ่ง คือ การไม่ให้อภัยตัวเองได้กลายเป็นบ่วงที่ฉุดรั้งเราไว้ เพราะติดอยู่ในกับดักทางความคิดที่ประกอบด้วยความคิดหรือความรู้สึกเหล่านี้

1. ความคาดหวังที่สูงเกินไป

เรามักตั้งมาตรฐานที่สูงจนเกินไปกับตัวเอง และเมื่อพลาดแม้เพียงเล็กน้อย ความผิดพลาดนั้นอาจดูยิ่งใหญ่ในสายตาเรา

2. การมองความผิดพลาดเป็นบทลงโทษ

แทนที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาด เรากลับใช้มันลงโทษตัวเองซ้ำๆ และไม่เปิดโอกาสให้ตัวเองได้เริ่มต้นใหม่

3. ความกลัวการถูกตัดสินจากผู้อื่น

เรากลัวว่าหากเปิดเผยความผิดพลาด คนรอบข้างอาจไม่ยอมรับในตัวเรา ทำให้เรากดดันตัวเองมากขึ้น และเก็บความรู้สึกผิดไว้ในใจ

4. ขาดการมองเห็นคุณค่าของตัวเอง

เมื่อเราขาดความมั่นใจในตัวเอง เรามักคิดว่าความผิดพลาดคือสิ่งที่ทำให้เรา "ไม่ดีพอ"


เมื่อเราปล่อยให้ความคิดเหล่านี้ครอบงำ เท่ากับเรากำลังปฏิเสธโอกาสที่จะเติบโตและเรียนรู้จากสิ่งที่ผ่านมา และยังขัดขวางการก้าวสู่อนาคตที่ดีกว่า

สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นกับดักทางความคิดที่ทำให้เราไม่สามารถปลดปล่อยตัวเองจากอดีต และขัดขวางการก้าวไปสู่อนาคตที่ดีกว่าได้

 

 Author

ออแบท-อธิษฐ์กร นิยมเดชาธีรฉัตร
PositivePsychologist นักจิตวิทยาองค์กร
Professional Action Learning Coach
Team Psychological Safety Facilitator

 Artwork: Jutha.J


บทความที่เกี่ยวข้อง
4 วิธีดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
แม้สุขภาพจิตของพนักงานจะเป็นปัจจัยที่สำคัญแต่ยังมีหลายองค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเพียงพอ ปัญหาความเครียด การหมดไฟในการทำงาน และภาวะซึมเศร้า กำลังกลายเป็นความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ การให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตไม่เพียงช่วยให้พนักงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรโดยรวม ดังนั้น องค์กรควรพิจารณาแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
31 ม.ค. 2025
ดูแลสุขภาพจิตของพนักงาน สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
การดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของพนักงานไม่ใช่เพียงแค่การดูแล "คน" แต่เป็นการลงทุนที่ช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืนในทุกด้าน เมื่อพนักงานมีสุขภาพจิตและกายที่ดี องค์กรจะได้ทีมงานที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร
31 ม.ค. 2025
ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ให้ความต่างสร้างการเติบโต
เมื่อพูดถึงความขัดแย้ง คนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะหลีกเลี่ยง เพราะคิดว่าจะนำไปสู่ความไม่พอใจ แตกแยก หรือสูญเสีย แต่ในความเป็นจริง ความขัดแย้งไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป หากเราสามารถจัดการและใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างเหมาะสม ความขัดแย้งอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นที่นำไปสู่การพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทีมได้
31 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy