แชร์

How to: เปลี่ยนทีมรุ่นจิ๋วให้เป็นทีมอย่างแจ่ม

อัพเดทล่าสุด: 13 พ.ย. 2024
52 ผู้เข้าชม

ในองค์กรขนาดเล็กที่มีข้อจำกัดหลายด้าน เช่น พนักงานเป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้มีทักษะหรือประสบการณ์สูง งบประมาณในการพัฒนาคนก็มีไม่มาก คนทำงานมีน้อยแค่งานประจำก็ทำไม่ทันจะเอาเวลาที่ไหนไปพัฒนาได้อีก ผู้นำองค์กรสามารถใช้เทคนิคหลายประการเพื่อกระตุ้นให้พนักงานตื่นตัวและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นกันเองและเหมาะสมกับระดับของพนักงานถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างการเติบโตระยะยาวทั้งในระดับบุคคลและองค์กร โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรมากเลย

ลองพิจารณาเทคนิคต่อไปนี้ค่ะ

1. จัดเวิร์กช็อปสั้น ๆ หรือการฝึกอบรมที่เข้าใจง่ายเพื่อให้เกิดการตื่นตัวและสนุกกับการเรียน

พนักงานในองค์กรขนาดเล็กอาจไม่คุ้นเคยกับการเรียนรู้เชิงลึก เป็นวิชาการ หรือมีข้อมูลที่ซับซ้อน แต่ความพร้อมในการเรียนรู้สามารถถูกจุดประกายด้วยการจัดการอบรมที่เน้นทักษะที่นำไปใช้ได้จริง การจัดเวิร์กช็อปที่ตอบโจทย์การทำงานประจำวัน เช่น การใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพของงาน การบริหารจัดการเวลา การนำประชุมที่สั้นกระชับ ฯลฯ จะช่วยให้พนักงานรู้สึกว่าเนื้อหามีความเกี่ยวข้องกับตนและเป็นการเรียนรู้ที่สร้างคุณค่าให้พวกเขาโดยตรง

2. สนับสนุนให้มีการแบ่งปันความรู้กันเองในทีม

ในทีมเล็ก การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้สามารถเริ่มต้นจากการสนับสนุนให้พนักงานแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ซึ่งกันและกัน การให้พนักงานที่มีความชำนาญในบางด้านได้โอกาสสอนหรืออธิบายงานให้เพื่อนร่วมงาน ไม่เพียงแต่จะทำให้ความรู้ขยายวงกว้าง แต่ยังสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของในกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาทักษะการสื่อสารและความร่วมมือระหว่างทีม

3. ตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจน

การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนสำหรับการเรียนรู้แต่ละช่วงเวลาจะช่วยให้พนักงานรู้สึกว่าองค์กรสนใจการพัฒนาตนอย่างจริงจัง ตัวอย่างเช่น การกำหนดเป้าหมายระยะสั้นเกี่ยวกับการเรียนรู้ทักษะใหม่ หรือการแข่งขันอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับงาน โดยผู้นำควรสื่อสารถึงความสำคัญและผลลัพธ์ที่ทีมจะได้รับเมื่อบรรลุเป้าหมายนี้ได้ และที่สำคัญ ให้ทีมได้มีโอกาสหรือมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าเป้าหมายการเรียนรู้สอดคล้องกับเป้าหมายของทีมและเป้าหมายส่วนบุคคล

4. สร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างสำหรับคำถาม

หนึ่งในเทคนิคที่ดีที่สุดในการกระตุ้นให้พนักงานเรียนรู้ คือ การสร้างวัฒนธรรมที่อนุญาตให้ทุกคนสามารถสอบถามและพูดคุยได้อย่างอิสระ ผู้นำต้องทำให้พนักงานรู้สึกว่าคำถามไม่มีวันผิด และข้อสงสัยต่าง ๆ ควรได้รับการตอบรับอย่างจริงใจ การเปิดโอกาสให้ถามยังทำให้พนักงานรู้สึกว่าตนมีสิทธิ์ในการพัฒนาความรู้ของตัวเอง ไม่ใช่แค่รอรับคำสั่งหรือทำตามสิ่งที่ได้รับมาเท่านั้น

5. ให้รางวัลและแสดงการยอมรับ

การให้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือการยกย่องเมื่อพนักงานแสดงความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ สามารถสร้างแรงกระตุ้นได้ดีในทีมขนาดเล็ก การยอมรับและชื่นชมเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้พนักงานรู้สึกว่าความพยายามของตนได้รับการสังเกตและเห็นคุณค่า สิ่งนี้จะช่วยให้พนักงานพร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ

การกระตุ้นให้พนักงานในองค์กรขนาดเล็กเรียนรู้และพัฒนาตนเองไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่เป็นเรื่องของการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เหมาะสม โดยมุ่งเน้นที่ความพร้อมของพนักงานแต่ละคนและการสนับสนุนที่สอดคล้อง ซึ่งหากทำอย่างต่อเนื่องและให้เวลาเพียงพอ ทีมที่เคยเป็นแค่รุ่นจิ๋วก็สามารถเติบโตและกลายเป็นทีมอย่างแจ่มได้อย่างไม่ยากเย็นเกินไป

ขอให้มีความสุขและสนุกกับการปั้น High-performing Team ไปด้วยกันนะคะ


---
 Author

โค้ชติ๊ก นิธิพร ไตรทิพเทวินทร์
Certified Master Facilitator Team Psychological Safety
WIAL Professional Action Learning Coach

 Artwork: Jutha.J


บทความที่เกี่ยวข้อง
4 วิธีดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
แม้สุขภาพจิตของพนักงานจะเป็นปัจจัยที่สำคัญแต่ยังมีหลายองค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเพียงพอ ปัญหาความเครียด การหมดไฟในการทำงาน และภาวะซึมเศร้า กำลังกลายเป็นความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ การให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตไม่เพียงช่วยให้พนักงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรโดยรวม ดังนั้น องค์กรควรพิจารณาแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
31 ม.ค. 2025
ดูแลสุขภาพจิตของพนักงาน สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
การดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของพนักงานไม่ใช่เพียงแค่การดูแล "คน" แต่เป็นการลงทุนที่ช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืนในทุกด้าน เมื่อพนักงานมีสุขภาพจิตและกายที่ดี องค์กรจะได้ทีมงานที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร
31 ม.ค. 2025
ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ให้ความต่างสร้างการเติบโต
เมื่อพูดถึงความขัดแย้ง คนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะหลีกเลี่ยง เพราะคิดว่าจะนำไปสู่ความไม่พอใจ แตกแยก หรือสูญเสีย แต่ในความเป็นจริง ความขัดแย้งไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป หากเราสามารถจัดการและใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างเหมาะสม ความขัดแย้งอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นที่นำไปสู่การพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทีมได้
31 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy