แชร์

เมื่อผู้นำทีมกลายเป็นคนสร้างปัญหา.. ใครจะช่วยทีมได้บ้าง?

อัพเดทล่าสุด: 7 ต.ค. 2024
11 ผู้เข้าชม
เมื่อผู้นำทีมกลายเป็นคนสร้างปัญหา.. ใครจะช่วยทีมได้บ้าง?

เมื่อผู้นำทีมกลายเป็นคนสร้างปัญหา.. ใครจะช่วยทีมได้บ้าง?

ในองค์กร ทีมที่แข็งแกร่งมักมาจากการมีผู้นำที่ดี ซึ่งสามารถสร้างแรงบันดาลใจ ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และทำให้ทีมรู้สึกปลอดภัยทางจิตวิทยา

อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้นำกลายเป็นคนที่สร้างปัญหาหรือทำให้ทีมไม่กล้าพูด แสดงความคิดเห็น หรือรู้สึกว่าการแสดงออกใด ๆ อาจนำไปสู่การถูกลงโทษหรือตำหนิ สิ่งนี้อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อทั้งความสุขของพนักงานและประสิทธิภาพในการทำงานของทีม

เมื่อผู้นำทำให้ทีมรู้สึกไม่ปลอดภัย

การขาด Team Psychological Safety มักเกิดจากการที่ผู้นำมีพฤติกรรมเผด็จการหรือใช้อำนาจในการตัดสินใจเพียงลำพัง ซึ่งอาจรวมถึงการไม่รับฟังความคิดเห็นของทีม การตำหนิหรือวิจารณ์ทีมงานเมื่อทำผิดพลาด หรือการสร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความกดดัน
สิ่งเหล่านี้ทำให้สมาชิกในทีมไม่กล้าพูดถึงปัญหาหรือเสนอแนวคิดใหม่ ๆ เพราะกลัวผลกระทบที่จะตามมา เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นบ่อย หรือซ้ำ ๆ ทีมจะกลายเป็นทีมที่ขาดความเชื่อมั่นและไม่สามารถทำงานได้เต็มศักยภาพ


ใครจะช่วยทีมได้บ้าง?

[1] การสนับสนุนจากฝ่ายบุคคล (HR):

หน่วยงาน HR มีบทบาทสำคัญในการสังเกตสัญญาณที่บ่งชี้ว่าทีมกำลังประสบปัญหาจากผู้นำที่มีพฤติกรรมไม่ส่งเสริมความปลอดภัยทางจิตวิทยาในทีม การจัดให้มีช่องทางสื่อสารที่ปลอดภัยและไม่เป็นทางการในการให้พนักงานส่งความเห็นหรือข้อร้องเรียนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ในกรณีนี้ HR ควรเป็นตัวกลางในการให้คำแนะนำแก่ผู้นำถึงผลกระทบของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และให้การสนับสนุนในการพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำที่ดีขึ้น


[2] การโค้ชและที่ปรึกษาภายในองค์กร:

การให้ผู้นำเข้าร่วมโปรแกรมการโค้ชหรือที่ปรึกษาภายในองค์กรสามารถช่วยให้ผู้นำได้เรียนรู้วิธีการสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการฟัง การสร้างความไว้วางใจ และการส่งเสริมให้ทีมกล้าพูด หากผู้นำสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองให้เป็นผู้นำที่สนับสนุนทีมได้มากขึ้น ทีมก็จะกลับมามีความมั่นใจและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง

[3] ผู้นำระดับสูง:

เมื่อผู้นำทีมกลายเป็นปัญหา สิ่งสำคัญคือการมีการสอดส่อง ตรวจสอบ และสนับสนุนจากผู้นำในระดับสูงขึ้น ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่ในการให้คำแนะนำและชี้แนะผู้นำทีมที่ทำให้ทีมรู้สึกไม่ปลอดภัย การสังเกตพฤติกรรมและการให้ Feedback อย่างต่อเนื่องเป็นวิธีหนึ่งในการช่วยปรับปรุงผู้นำทีมในระยะยาว

[4] ผู้เชี่ยวชาญด้าน Team Psychological Safety ที่ได้รับการรับรอง:

CertifiedTeamPsychologicalSafetyPractitioners หรือ #CertifiedTeamPsychologicalSafety Facilitators ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือในระดับนานาชาติ จะมีความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพของทีมผ่านกลไกด้านความปลอดภัยทางจิตวิทยาในทีมอย่างชัดเจน นอกจากความรู้แล้ว ผู้เชี่ยวชาญควรมีแบบประเมินที่เชื่อถือได้ในการใช้วัดและประเมินสถานะของทีมเพื่อค้นหาจุดที่เป็นปัญหาที่อาจถูกมองข้ามหรือถูกละเลย มี Framework และ Tools ในการพัฒนาทีมอย่างเป็นรูปธรรม สามารถออกแบบ โปรแกรมพัฒนาศักยภาพของทีมอย่างมีโครงสร้างชัดเจน

ผู้เชี่ยวชาญนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่องค์กรสามารถพิจารณาใช้บริการเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของทีมให้เป็นไปอย่างรอบด้านและเป็นระบบมากขึ้น


การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

องค์กรควรมีวัฒนธรรมที่สนับสนุนให้พนักงานทุกระดับรู้สึกว่าพวกเขาสามารถขอความช่วยเหลือได้ ในเบื้องต้น การจัดการอบรมผู้นำในเรื่องของ Emotional Intelligence, Mindsets, Empathetic Listening หรืออื่น ๆ จะช่วยให้ผู้นำมีความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจทีมมากขึ้น รวมถึงเข้าใจถึงผลกระทบของการกระทำของตนเองที่มีต่อสมาชิกในทีม แต่ต้องดำเนินการอย่างมีกลยุทธ์และศิลปะ เพื่อให้ผู้นำทีมรู้สึกปลอดภัยที่จะเปิดใจรับฟัง แสดงความรู้สึก และมีส่วนร่วมในการปรับปรุงตัว แต่ในระยะยาว จำเป็นต้องใช้วิธีการที่มากกว่าการฝึกอบรมทั่วไป ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการแก้ปัญหาแบบไฟไหม้ฟาง ซึ่งส่งผลต่อขวัญและกำลังใจของทีมอย่างแน่นอน

การที่ผู้นำกลายเป็นคนที่สร้างปัญหาให้กับทีม ไม่ได้หมายความว่าทีมนั้นต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่แก้ไขไม่ได้ หากองค์กรมีการสนับสนุนที่ดีจากฝ่ายบุคคล การโค้ช ผู้นำระดับสูง และ/หรือการใช้ผู้เชี่ยวชาญด้าน Team Psychological Safety ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงทีมให้กลับมามีความมั่นใจและสร้างผลงานที่ดีได้ไม่ไกลเกินความพยายามอย่างแน่นอน


ขอให้มีความสุขและสนุกกับการปั้น High-performing Team ไปด้วยกันนะคะ


---
  Author

โค้ชติ๊ก นิธิพร ไตรทิพเทวินทร์
Certified Master Facilitator Team Psychological Safety
WIAL Professional Action Learning Coach


  Artwork

จุฑามาศ ใจสมัคร


#theartofchange
#teampsychologicalsafety
#highperformingteams
#wetreasureSUSTAINABLEGROWTHthroughPEOPLE

บทความที่เกี่ยวข้อง
ต้องทำอย่างไรเมื่อบริหารผิดพลาด
การรับมือกับความผิดพลาดในการบริหารงานเป็นทั้งความท้าทายและโอกาส ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์จะมองเห็นว่านี่คือโอกาสในการพัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กร การจัดการกับความผิดพลาดอย่างมีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ไขปัญหาปัจจุบัน แต่ยังจะช่วยวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับความสำเร็จในอนาคต ที่สำคัญที่สุดคือการเรียนรู้จากประสบการณ์และการนำบทเรียนนั้นมาใช้ในการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง
13 พ.ย. 2024
ผลกระทบเมื่อหัวหน้างานไม่ยอมรับความผิดพลาด
การไม่ยอมรับความผิดพลาดของหัวหน้างานสร้างผลกระทบที่ร้ายแรงและยาวนาน ทั้งต่อตัวหัวหน้าเอง ทีมงาน และองค์กรโดยรวม การแก้ไขสถานการณ์ต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อความผิดพลาดจากสิ่งที่ต้องปกปิดเป็นโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนา
13 พ.ย. 2024
How to: เปลี่ยนทีมรุ่นจิ๋วให้เป็นทีมอย่างแจ่ม
การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นกันเองและเหมาะสมกับระดับของพนักงานถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างการเติบโตระยะยาวทั้งในระดับบุคคลและองค์กร โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรมากเลย บทความนี้จะมาแบ่งปันเทคนิคในการบริหารทีมที่หากทำอย่างต่อเนื่องและให้เวลาเพียงพอ ทีมที่เคยเป็นแค่รุ่นจิ๋วก็สามารถเติบโตและกลายเป็นทีมอย่างแจ่มได้อย่างไม่ยากเย็นเกินไป
13 พ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy