แชร์

4 รูปแบบการป้องกันความล้มเหลว

อัพเดทล่าสุด: 20 ส.ค. 2024
94 ผู้เข้าชม

ความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ที่สำคัญ
ไม่ใช่สิ่งที่บั่นทอนคุณค่าในตนเอง

มาร์ติน โควิงตัน (Martin Covington) อดีตศาตราจารย์ทางด้านจิตวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการกลัวความล้มเหลวว่ามีความเชื่อมโยงโดยตรงกับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (Self-worth) ของคนเรา โดยพบว่า ความสำเร็จ ทำให้คนเรารับรู้ว่าตนเองว่ามีความสามารถ และเกิดคุณค่าในตนเอง เพราะความสามารถนี้ จะทำให้ผู้อื่นเห็นและเชื่อเช่นนั้นด้วยเช่นกัน


ดังนั้น คนเราจึงไม่ต้องการให้เกิดการรับรู้หรือรู้สึกว่าตนเองไม่มีความสามารถ ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะนั่น จะทำให้เขารู้สึกว่า ตนเองไม่สามารถรักษาคุณค่าในตนเองไว้ได้ ยิ่งถ้ากลัวว่า คนอื่นจะมองเขาว่า เป็นคนที่ทำอะไรไม่ประสบสำเร็จแล้ว เขายิ่งจะกลัวความล้มเหลวมากขึ้น และหากเกิดประสบการณ์ของความล้มเหลวซ้ำๆ ขึ้นมาเมื่อใด ความเชื่อในความสามารถตนเองจะถูกบั่นทอนลง และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง จะค่อยๆ ลดทอนลงไปด้วย


4 รูปแบบที่คนเราใช้เพื่อป้องกันความล้มเหลว เพื่อรักษาคุณค่าในตนเองให้คงอยู่มีดังนี้


1.มุ่งความสำเร็จ (Success oriented) คนกลุ่มนี้ จะรักการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ มองความล้มเหลวว่าเป็นโอกาสในการปรับปรุง พัฒนาตนเอง ทำให้ได้ความรู้ใหม่ มุมมองใหม่ที่ไม่เคยรู้ หรือ มองข้ามไป แทนที่จะมองว่าเป็นการลดคุณค่าตนเอง หรือการบั่นทอนตนเอง
.
2. ล้มเหลวไม่ได้ ต้องไปให้สุด (Over-strivers) คนกลุ่มนี้ จะทุ่มเท ใช้แรงและความพยายามอย่างมาก ความกลัวความล้มเหลวทำให้พวกเขาต้องใช้ความพยายามยามอย่างมาก เพื่อแลกกับการหลีกเลี่ยงความล้มเหลวในทุกกรณี ความล้มเหลวเป็นเรื่องที่ยากจะรับได้
.
3. เลี่ยงความล้มเหลว (Failure-avoiding) คนกลุ่มนี้ ไม่ได้ต้องการประสบสำเร็จ พวกเขาเพียงต้องการที่จะเลี่ยงความผิดพลาดหรือล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้น วิธีการที่มักใช้ คือ การแก้ตัว การผัดวันประกันพรุ่ง หรือ การไม่พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย หากเลี่ยงได้
.
4. รับสภาพความล้มเหลว (Failure-accepting) คนกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่ล้มตั้งแต่ยังไม่เริ่ม พวกเขาปรามาสตัวเอง คิดว่าตนเองจะมีโอกาสล้มเหลวมากกว่าจะประสบสำเร็จได้ จึงเป็นกลุ่มที่ยากกับการปลุกกระตุ้น แรงจูงใจน้อย มองว่าตนเองมีศักยภาพและความสามารถเพียงวงจำกัดเท่านั้น
.
รูปแบบที่คนเราควรจะพาตัวเองไปอยู่ให้คือ รูปแบบแรก มุ่งความสำเร็จ เพราะความล้มเหลว จะเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ไม่ใช่การบั่นทอนหรือสะท้อนว่า ตนเองนั้นไร้คุณค่านั่นเอง
.
หลักสูตร Team Psychological Safety รุ่นที่ 3
ลงทะเบียนเรียนผ่านลิ้งค์
https://docs.google.com/.../1FAIpQLSfIGJx8OpXf4I.../viewform
.
Author
ผศ.ดร.จิตรา ดุษฏีเมธา
อาจารย์มหาวิทยาลัย
นักจิตวิทยา
Senior Action Learning Coach
TPS Master Facilitator
Artwork
ภัทรมน วงศ์สังข์

#teampsychologicalsafety
#highperformingteam
#theartofchange
#wetreasuresustainablegrowththroughpeople

บทความที่เกี่ยวข้อง
4 วิธีดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
แม้สุขภาพจิตของพนักงานจะเป็นปัจจัยที่สำคัญแต่ยังมีหลายองค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเพียงพอ ปัญหาความเครียด การหมดไฟในการทำงาน และภาวะซึมเศร้า กำลังกลายเป็นความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ การให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตไม่เพียงช่วยให้พนักงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรโดยรวม ดังนั้น องค์กรควรพิจารณาแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
31 ม.ค. 2025
ดูแลสุขภาพจิตของพนักงาน สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
การดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของพนักงานไม่ใช่เพียงแค่การดูแล "คน" แต่เป็นการลงทุนที่ช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืนในทุกด้าน เมื่อพนักงานมีสุขภาพจิตและกายที่ดี องค์กรจะได้ทีมงานที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร
31 ม.ค. 2025
ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ให้ความต่างสร้างการเติบโต
เมื่อพูดถึงความขัดแย้ง คนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะหลีกเลี่ยง เพราะคิดว่าจะนำไปสู่ความไม่พอใจ แตกแยก หรือสูญเสีย แต่ในความเป็นจริง ความขัดแย้งไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป หากเราสามารถจัดการและใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างเหมาะสม ความขัดแย้งอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นที่นำไปสู่การพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทีมได้
31 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy