แชร์

#ทำIDPแบบมุ่งผลลัพธ์ด้วยโมเดล702010

อัพเดทล่าสุด: 3 มิ.ย. 2024
81 ผู้เข้าชม
#ทำIDPแบบมุ่งผลลัพธ์ด้วยโมเดล702010

#ทำIDPแบบมุ่งผลลัพธ์ด้วยโมเดล702010 

เมื่อพูดถึง IDP หรือ Individual Development Plan หลายคนอาจนึกถึงแผนพัฒนารายบุคคลที่แต่ละองค์กรจัดสรรไว้ให้ แต่เชื่อหรือไม่คะว่า เราสามารถใช้แนวคิดในการทำ IDP มาปรับใช้ในการพัฒนาสมรรถนะของเราง่าย ๆ ได้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นการพัฒนาแบบคู่ขนานและมุ่งผลลัพธ์ในงานที่ทำได้ในระยะเวลาที่กำหนด

โดยเราสามารถเชื่อมโยงการทำ IDP กับการเรียนรู้ให้ได้เต็มร้อย ด้วยการปรับใช้ร่วมกับโมเดลการเรียนรู้แบบ 70:20:10 ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นโดย Morgan McCall, Michael Lombardo และ Robert Eichinger ในความร่วมมือกับกลุ่มนักเขียน ร่วมกับ Centre for Creative Leadership (CCL) ตั้งแต่ปี 1980 โดยมีแนวคิดตั้งต้นมาจากวัตถุประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของบุคลากร และยังคงเป็นแนวคิดที่ใช้ได้ดีมาจนถึงปัจจุบัน

โมเดล 70:20:10 ประกอบไปด้วย

70% Experiential Learning หมายถึง การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำในงานจริง เช่น การทำโครงการใหม่ที่ได้รับมอบหมาย การลองทำงานด้วยิธีการใหม่เพื่อพัฒนาสมรรถนะใหม่ ๆ เช่นการใช้ Ai หรือการอาสาทำงานที่สนใจ และเป็นโอกาสใน Career Path ของเรา

20% Social Learning หมายถึง การเรียนรู้ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่นการสัมภาษณ์คนเก่ง ขอทดลองทำงานด้วย การโค้ช หรือรวมไปถึงการขอ Feedback

10% Formal Learning หมายถึง การเรียนรู้แบบเป็นทางการ เช่น การเข้าร่วมฝึกอบรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง การลงเรียน Course Online การฟัง Podcast หรืออ่านบทความที่เกี่ยวข้องเป็นประจำ

4 ขั้นตอน ในการทำ IDP แบบมุ่งผลลัพธ์ด้วยโมเดล 70:20:10 ได้แก่

1. #กำหนดเป้าหมาย 
ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน จับต้องได้ วัดผลได้ โดยใช้ผลลัพธ์ในงานเป็นตัวตั้ง เช่น

ใช้ Ai เป็นตัวช่วยในการริเริ่มโครงการ XYZ ด้วยการออกแบบและส่งมอบแนวคิดโครงการใหม่ ภายใน 2 เดือน (ระบุวันที่)

การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน จะช่วยกำหนดทิศทางที่แน่นอน ช่วยในการตรวจสอบความคืบหน้าระหว่างทาง และประเมินผลลัพธ์ได้อย่างตรงตามเป้าหมาย

2. #กำหนดสมรรถนะ 
เลือก 3 สมรรถนะที่เป็นจุดแข็งของเราอยู่แล้ว และจะช่วยให้เป้าหมายนี้สำเร็จ และ 3 สมรรถนะที่ต้องการมีเพิ่มเติม เพื่อให้เป้าหมายนี้สำเร็จ เช่น

สมรรถนะที่มีอยู่แล้ว: การเรียนรู้ การบริหารโครงการ และการมุ่งผลลัพธ์
สมรรถนะที่ต้องการมีเพิ่มเติม: การใช้เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างความไว้วางใจ

การกำหนดสมรรถนะที่มี จะช่วยให้เตือนให้เราดึงสิ่งที่มีอยู่มาเป็นตัวช่วยในการทำให้เป้าหมายของเราสำเร็จ และการกำหนดสมรรถนะที่ต้องการ จะเป็นตัวช่วยให้เรา focus ในการพัฒนาตนเองเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถลงมือทำเพื่อไปถึงเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น

3. #กำหนดการเรียนรู้แบบ702010และระยะเวลาที่ชัดเจน 

70% Experiential Learning: กำหนดโครงการ หรือชิ้นงานที่ชัดเจน เพื่อให้เราสามารถ focus ในการพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่ เช่น โครงการ XYZ

20% Social Learning: กำหนดวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลอื่น ๆ เพื่อการเรียนรู้อย่างรอบด้าน เช่น
เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ โดย นัดขอดูงาน พูดคุยแลกเปลี่ยนไอเดีย หรือขอให้เป็น mentor เดือนละ 2 ครั้ง
ขอ Feedback จากทีมงาน หรือหัวหน้างาน สัปดาห์ละครั้ง

10% Formal Learning: กำหนดสื่อและวิธีการเรียนรู้เนื้อหาที่จะช่วยให้เราสามารถพัฒนาได้อย่างตรงจุด เช่น
ลงเรียน Course การใช้งาน Ai อย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา 1 เดือน
เข้าร่วมสัมมนา เพื่อเรียนรู้จากผู้ใช้งานจริง อย่างน้อย 2 ครั้ง
ฟัง podcast อ่านหนังสือ หรือบทความที่เกี่ยวข้องกับ การใช้ Ai ในการทำงาน วันละอย่างน้อย 25 นาที

4. #สะท้อนการเรียนรู้ ในแต่ละวัน หรือสัปดาห์ ด้วยการตั้งคำถาม เช่น
️จากคะแนน 1 - 10 วันนี้ฉันให้คะแนนตัวเองในการไปบรรลุเป้าหมายที่วางไว้เท่าไหร่?
วันนี้ฉันได้ใช้สมรรถนะที่มีในการพัฒนาตัวเองเพื่อไปสู่เป้าหมายอย่างไรบ้าง?
วันนี้ฉันได้ใช้สมรรถนะที่ต้องการพัฒนาเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง?
สมรรถนะที่ฉันคิดว่าพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจาก 1 สัปดาห์ก่อนหน้านี้คืออะไร เพราะอะไร?
ในวันพรุ่งนี้ ฉันตั้งใจจะทำอะไรให้ดีขึ้น เพื่อไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจ?
1 สิ่งที่อยากจะชื่นชมตัวเองในวันนี้ ที่ทำให้เข้าใกล้เป้าหมายได้มากขึ้น คืออะไร?

และนี่คือ 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการปรับใช้ IDP ได้ด้วยตัวเอง
สามารถโหลดตัวอย่าง Template IDP ได้ที่นี่

https://drive.google.com/file/d/10UqGvkY8XQPN0uLXXVIIGjC5-G_mUg9w/view?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0z_q4Ez-SdeuVSt862wi9zV7Kk3jYnjd0OR7Jj3CsX3SL5eE5HbR3vceE_aem_ZmFrZWR1bW15MTZieXRlcw


ขอเป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ ความตั้งใจในการพัฒนาตนเองเพื่อผลลัพธ์ที่มุ่งหวังค่ะ

Author


ยุ่ง ศริยา ประวงษ์
People & Culture Transformation Consultant
Action Learning Coach
Team Psychological Safety Facilitator

#theartofchange 
#teampsychologicalsafety 
#teamperformance 
#competencyandquestioncard

บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy