แชร์

ปรับตัวอย่างไรในองค์กรยุค 4 IR

อัพเดทล่าสุด: 6 พ.ย. 2024
20 ผู้เข้าชม
ปรับตัวอย่างไรในองค์กรยุค 4 IR
ปัจจุบันเราอยู่ในยุค 4 IR หรือ ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ถือเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (The Fourth Industrial Revolution) เป็นยุคที่โลกการผลิตมีการผสมผสานของเทคโนโลยีที่ทันสมัยและดิจิทัลเข้ากับระบบเศรษฐกิจ สังคม และชีวิตประจำวันของเรา การปฏิวัติครั้งนี้เป็นการรวมเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เช่น หุ่นยนต์ (Robotics), อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things; IoT) และการผลิตด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) ที่เปลี่ยนแปลงทั้งกระบวนการผลิต สร้างสินค้า/บริการ รวมถึงการจัดการระบบอุตสาหกรรมและธุรกิจต่าง ๆ

พนักงานในองค์กรยุค 4 IR จำเป็นต้องเรียนรู้ในการปรับตัวอย่างรวดเร็ว และต้องมีความสามารถในการปรับตัวที่สูง
โดยแนวทางในการปรับตัวที่สำคัญมีดังนี้

  1. พัฒนาทักษะด้านดิจิตัล และเรียนรู้การทำงานร่วมกับเทคโนโลยี
พนักงานที่ upskill ตนเองให้มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การวิเคราะห์ข้อมูลจาก Big Data การทำงานร่วมกับเทคโนโลยี หุ่นยนต์ หรือ ระบบอัตโนมัติใหม่ได้ จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้เพิ่มมากขึ้น

  2. มีทัศนคติที่ยืดหยุ่นและคล่องตัว
การเตรียมตัวให้พร้อมปรับตัวกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันมีความจำเป็นอย่างมาก และการรู้จักมีความคล่องตัวในการทำงานจะสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วนี้ได้

  3. การสื่อสารและทำงานเป็นทีม
ไม่ว่ายุคใด ๆ การสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำงานให้ได้สำเร็จ และการทำงานในยุคนี้ ต้องเรียนรู้จักการสื่อสารทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ได้ด้วย รวมถึงการทำงานเป็นทีมผ่านระบบดิจิตัล การส่งข้อมูลอย่างชัดเจน เปิดเผยและตรงไปตรงมาเพื่อสร้างความเข้าใจในทีม

  4. การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ในยุคนี้ การพัฒนาตนเองทำได้ทุกที่ในรูปแบบที่หลากหลายไม่จำเป็นต้องรอองค์กรจัดอบรมให้เพียงอย่างเดียว คนที่แสวงหาความรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องในทุก ๆ วัน จะช่วยเพิ่มศักยภาพและมีความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ

  5. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
การกล้าออกจาก Comfort Zone ที่คุ้นชินจะช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ได้ การรู้จักนำความรู้ เครื่องมือ หรือการสร้างสรรค์วิธีการ แนวทางใหม่ ๆ ในการทำงานและการแก้ปัญหาจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองพัฒนางานให้สามารถแข่งขันกับตลาดภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้

  6. พัฒนาทักษะด้านความเข้าใจสังคมและความรับผิดชอบต่อสังคม
พนักงานที่มีความใส่ใจต่อการทำงานที่ยั่งยืน มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อสังคม รวมถึงการเรียนรู้จักปฎิบัติตามจริยธรรมทางดิจิทัลย่อมช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้ดูดียิ่งขึ้นด้วย

  7. การดูแลสุขภาพกายและจิต
ความท้าทายที่สำคัญของพนักงานในองค์กร คือ การให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพกายและจิตใจของตนเองไว้ให้ได้ หลายครั้ง การจัดสมดุลของการทำงานกับการใช้ชีวิตไม่สามารถแยกหรือแบ่งเวลาได้อย่างชัดเจน พนักงานจึงควรเรียนรู้จักการบูรณาการงานกับชีวิตส่วนตัวเข้าด้วยกัน และจัดสมดุลชีวิตส่วนตัวกับชีวิตงานเพื่อให้ตนเองมีแรงในการใช้ชีวิตและการทำงานได้อย่างกระปรี้กระเปร่าในทุก ๆ วัน

พนักงานคนใด สามารถบริหารตนเอง และปรับตัวใน 7 ลักษณะนี้ได้ ย่อมช่วยให้สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน


---
  Author

ผศ.ดร.จิตรา ดุษฏีเมธา

อาจารย์มหาวิทยาลัย
นักจิตวิทยา
Senior Action Learning Coach
TPS Master Facilitator
  Artwork: Jutha.J
บทความที่เกี่ยวข้อง
คำขอบคุณเล็ก ๆ สู่การพัฒนาและเติบโตของทีมอย่างไม่สิ้นสุด
การแสดงความขอบคุณเป็นเรื่องที่เรียบง่ายแต่มีพลังมหาศาล เมื่อผู้นำใช้คำขอบคุณอย่างสม่ำเสมอและจริงใจ ทีมจะสามารถพัฒนาและเติบโตได้อย่างไม่สิ้นสุด
1 พ.ย. 2024
6 เทคนิค: การสร้าง Resilient Teams
เทคนิคในการสร้างทีมที่แข็งแกร่ง พร้อมเผชิญกับความท้าทาย (Resilient teams) ที่จะช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทีม ส่งผลถึงการผลิตงานที่มีประสิทธิภาพ พร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอน
30 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy